ขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต (คสล.)

ขั้นตอนการเทพื้นคอนกรีต (คสล.)

1. การเตรียมพื้นชั้นดินเดิม (Subgrade)


ควรปรับเกลี่ย (Clearing) พื้นดินเดิมให้เรียบ ปราศจากวัชพืช บางกรณีอาจต้องขุดลอกและถมด้วยวัสดุ ที่เหมาะสมแทน เช่น ลูกรัง หินคลุก และทำการบดอัดเพื่อให้ได้ความหนาแน่นตามกำหนด

1. การเตรียมพื้นชั้นดินเดิม (Subgrade)


ควรปรับเกลี่ย (Clearing) พื้นดินเดิมให้เรียบ ปราศจากวัชพืช  บางกรณีอาจต้องขุดลอกและถมด้วยวัสดุ ที่เหมาะสมแทน เช่น ลูกรัง หินคลุก  และทำการบดอัดเพื่อให้ได้ความหนาแน่นตามกำหนด

2. การเสริมชั้นรองพื้นทาง (Subbase)


โดยทั่วไปมักกำหนด หรือ ออกแบบให้ใช้ดินลูกรัง ทรายถม หรือหินคลุก  ความหนาประมาณ 20 cm. (เซนติเมตร) หรือตามที่ผู้ออกแบบกำหนด  และทำการบดอัด ตรวจสอบระดับให้ได้ตามที่ต้องการ

2. การเสริมชั้นรองพื้นทาง (Subbase)


โดยทั่วไปมักกำหนด หรือ ออกแบบให้ใช้ดินลูกรัง ทรายถม หรือหินคลุก  ความหนาประมาณ 20 cm. (เซนติเมตร) หรือตามที่ผู้ออกแบบกำหนด  และทำการบดอัด ตรวจสอบระดับให้ได้ตามที่ต้องการ

3. การเทพื้นชั้นผิวทางคอนกรีต (Concrete Slab)


ทำการใส่แบบเทคอนกรีตที่มีมาตรฐาน แข็งแรง ให้แน่นหนา ตามรูปแบบที่วางแผนไว้ เสริมเหล็กให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน หลังจากเทคอนกรีตแล้ว ควรทำให้แน่น โดยใช้เครื่องเขย่า หรือกระทุ้งด้วยมือสำหรับการเทปริมาณน้อย หลังจากนั้นจึงทำการตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตให้ได้ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น  การกรีดหน้าลาย การขัดหยาบ การขัดเรียบ เป็นต้น

3. การเทพื้นชั้นผิวทางคอนกรีต (Concrete Slab)


ทำการใส่แบบเทคอนกรีตที่มีมาตรฐาน  แข็งแรง ให้แน่นหนา ตามรูปแบบที่วางแผนไว้  เสริมเหล็กให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน  หลังจากเทคอนกรีตแล้ว ควรทำให้แน่น โดยใช้เครื่องเขย่า หรือกระทุ้งด้วยมือสำหรับการเทปริมาณน้อย  หลังจากนั้นจึงทำการตกแต่งผิวหน้าคอนกรีตให้ได้ตามรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน  เช่น  การกรีดหน้าลาย  การขัดหยาบ  การขัดเรียบ  เป็นต้น

4. การบ่มพื้นคอนกรีต (Concrete Curing)


การบ่มคอนกรีตเป็นการควบคุม และป้องกันไม่ให้น้ำในคอนกรีตระบายออกจากคอนกรีต  ที่กำลังแข็งตัวเร็วเกินไป ซึ่งจะมีผลต่อกำลังของคอนกรีต  ดังนั้นหลังจากที่ผิวหน้าคอนกรีตแข็งตัวแล้ว จะต้องบ่มคอนกรีตให้มีความชื้นอยู่เสมอ เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน โดยกำลังของคอนกรีตจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังมีความชื้นให้ปูนซีเมนต์ได้ทำปฏิกิริยากับน้ำ

โดยวิธีการบ่มคอนกรีตทำได้หลายวิธี  เช่น การรดน้ำ, การคลุมด้วยวัสดุเปียกชื้น ได้แก่ กระสอบ, แผ่นพลาสติก หรือการใช้สารเคมี (น้ำยาบ่มคอนกรีต) เคลือบผิวหน้าคอนกรีต

5. การตัดรอยต่อพื้นคอนกรีต (Joint)


หลังจากเทคอนกรีตแล้ว 1 วัน ควรทำการตัด Joint รอยต่อ เพื่อกันผิวคอนกรีตแตกร้าวไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากคอนกรีตเมื่อแข็งตัวแล้ว จะเกิดการขยายตัว และหดตัว เพราะความชื้น และอุณหภูมิ ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่ไม่มีระเบียบ ไม่สวยงาม จึงต้องทำการตัด Joint เพื่อควบคุมรอยแตกให้เป็นระเบียบและสวยงาม ซึ่งอาจทำการตัดในระหว่างการเทโดยใช้ไม้แบบ หรือเกรียงสำหรับทำรอยต่อ หรือตัดด้วยใบเลื่อย (Saw Cut) หลังจากเทคอนกรีตแล้ว 1 วัน



Share by: